#การจัดการปัญหาเอชไอวี/เอดส์ โดยเครือข่ายศาสนาด้านเอชไอวี/เอดส์ในประเทศไทย #INTERFAITH NETWORK ON HIV/AIDS IN THAILAND(1/03/2555)

ตอนที่1

มุมมองของสังคมต่อเอชไอวี(พ.ศ.2555)

    กว่า 20 ปีที่ เอชไอวี/เอดส์  คร่าชีวิตคนไทยไปแล้วกว่าหนึ่งล้านสองแสนคน แต่ดูเหมือนว่าเอชไอวี/เอดส์ ไม่ใช่เพียงแค่โรคร้ายที่คร่าชีวิตของคนเหมือนโรคอื่นๆที่มนุษย์เคยรู้จัก เมื่อเอชไอวีผ่านเข้ามาในชีวิตของคนๆหนึ่งไม่เพียงส่งผลกระทบด้านสุขภาพโดยตรงต่อบุคคลนั้นๆแต่ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัวและสังคม เกิดประเด็นถกเถียงกีนมากมายในสังคม บางคนเข้าใจว่าเอชไอวีเป็นเพียงโรคภัยไข้เจ็บทางร่างกาย บ้างก็ว่าคือโรคทางสังคมที่สะท้อนให้เห็นความเสื่อมของศีลธรรม จริยธรรมของผู้คน บ้างก็ว่าเป็นโรคทางจิตใจที่ทำให้เกิดความเครียดในครอบครัว ความวิตกกังวลด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและอื่นๆอีกมากมาย
    ความคิดเห็นมากมายของคนในสังคม ขึ้นอยู่กับมุมมองและข้อมูลของแต่ละคนที่มีอยู่ สิ่งเหล่านี้ดำเนินอยู่และมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาการตอบสนองต่อประเด็นเอชไอวี/เอดส์ ในระดับบุคคลและชุมชนก็มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับโอกาสและสถานการณ์ที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจ แล้วมุมมองของคุณต่อปรากฎการณ์ของเอชไอวี/เอดส์เป็นอย่างไร


แนวคิดของผู้นำศาสนา
และผู้นำชุมชนเมื่อได้ยินคำว่าเอชไอวี
   

น่าสงสาร สงสัยประพฤติผิดมา ทำตัวเอง สมน้ำหน้าทำตัวไม่ดีเพราะไม่เชื่อฟังพระเจ้าจึงมีสะภาพแบบนี้ สำส่อน น่ากลัว ไม่อยากเข้าใกล้ เข้าใกล้แล้วจะติดหรือเปล่าเนี่ย เขาเชิญไปร่วมงาน ผมไม่ไปนะ เป็นเอดส์ตายเหรอ...ใครจะไปอาบน้ำให้ก็เชิญแต่ผมไม่เอาด้วย ฝังไปเลยไม่ต้องละหมาดให้หรอกยังไงก็ลงนรก คนบาป กลับตัวหรือยังเนี่ย เป็นเอดส์แล้วยังมาทำกับข้าว(ตั๋วบ่ฮู้ตั๋ว) บ่ดีเยี๊ยะเปิ้นจะจ๊ะ ไม่เป็นไร จะช่วยเอง มาหาบ่อยๆนะ ยินดีต้อนรับ ลำบากไหม ไม่ต้องกลัวมีงบประมาณอยู่ เขียนโครงการเข้ามานะ ไปลงทะเบียนที่อบต.สิ เขาให้เงินเดือนๆละ 500 แน่ะ พระเจ้าทรงรักทุกชีวิต พระเจ้าจะทรงรักษา ข้าวของโยมอาตมาจะฉันเอง พระเจ้าทรงเมตตา พระองค์ทรงทดสอบ

    จากคำพูดที่ผ่านมาเราพบความเหมือนและความต่างกัน มีทั้งที่ซ้ำเติม วางเฉย และเห็นใจ อะไรที่ทำให้คนเราคิดไม่เหมือนกันทั้งที่เป็นประเด็นเดียวกัน อาจเป็นเพราะความรู้ ความเข้าใจ รสนิยม ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ สิ่งแวดล้อม ประสบการณ์ ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ เข้ามามีอิทธิพลต่อเรา ทำให้เราแสดงความรู้สึกและความคิดเห็นแตกต่างกันแม้ว่าจะเป็นเรื่องเดียวกัน แล้วเมื่อเราคิดต่างกันแล้วผลของมันจะเป็นอย่างไร

การตอบสนองของผู้นำศาสนาและผู้นำชุมชน
ต่อประเด็นเอชไอวี
   

เมื่อแต่ละคนมีความคิดเห็นแตกต่างกันผลของการกระทำหรือการตอบสนองต่อปัญหาก็แตกต่างกันด้วย เราเคยพบว่าในยุคแรกที่เอชไอวี/เอดส์ เข้ามาในประเทศไทย การรับรู้ข่าวสารที่เน้นพฤติกรรมไม่เหมาะสมนำไปสู่ความเสี่ยงในการรับเชื้อ เช่น พฤติกรรมทางเพศ การเสพสารเสพติดทำให้บุคคลากรศาสนาไม่ได้รับข้อมูลอย่างถูกต้องและรอบด้าน จึงได้มีส่วนร่วมกับสังคมในการประณามผู้ติดเชื้อว่าเป็นคนบาป และมีพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของศาสนา และมองว่าการรับเชื้อคือการลงโทษที่สาสมแล้วส่งผลให้ผู้นำศาสนาเกิดการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง การตีตราและการเลือกปฏิบัติดังกล่าวยิ่งเป็นการผลักดันผู้ติดเชื้อ ออกจากศาสนสถาน จากชุมชนและจากสังคม การตีตราและการเลือกปฏิบัติขยายไปวงกว้างไปเรื่อยๆ ในที่สุดผู้มีเชื้อเลือกที่จะปิดกั้นตนเองจากสังคม สูญเสียคุณค่าในความเป็นมนุษย์ เหตุการณ์เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คน เกิดการกีดกันแบ่งแยกแม้แต่ในระดับครอบครัว ปรากฏการณ์เหล่านี้ ท้าทายให้เหล่าบุคลากรในศาสนาเริ่มศึกษาค้นคว้า ทำความเข้าใจ ต่อผลกระทบด้านต่างๆที่มีต่อผู้มีเชื้อ บรรดาบุคลากรด้านศาสนาได้มารวมตัวกัน เพื่อแก้ไขทัศนคติของผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน โดยให้มองถึงหลักธรรมคำสอนด้านความเมตตา กรุณา การอภัยและการเอื้อเฟื้อ สนับสนุนการช่วยเหลือกันและกัน ของคนในสังคม โดยมีเป้าหมายที่จะฟื้นฟูชีวิตของผู้มีเชื้อและคนในสังคมให้สามารถกลับมาแสดงความรัก ความปราถนาดีต่อกันเหมือนเช่นในอดีต
    ปัจจุบัน มีนักเทศน์มากมายที่เทศน์ให้ความรู้ด้านการป้องกันเอชไอวี/เอดส์ มีอีหม่าม มากมายในภาคเหนือและภาคใต้ที่ให้ความรู้ด้านเอชไอวี/เอดส์ในคุตบะห์วันศุกร์ มีบาทหลวงและศาสนาจารย์จำนวนมากมายที่เทศนาในประเด็นเอชไอวี/เอดส์ มีเครือข่ายพระสงฆ์และวัดมากมายในประเทศไทยที่ดูแลผู้ติเชื้อ มีเครือข่ายมุสลิมและมัสยิดที่ให้บริการดูแลผู้ติดเชื้อต่างศาสนิก มีเครือข่ายโบถส์มากมายดูแลผู้ติดเชื้อ
    ผู้นำชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วไทยที่ไม่ได้ให้การสนับสนุนเบี้ยยังชีพแก่ผู้มีเชื้อและทุนประกอบอาชีพสำหรับผู้มีเชื้อเท่านั้น แต่ยังมีส่วนในกานสนับสนุนกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้กับประชาชน และเป็นภาคีในกานรทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมต่างๆในการจัดการกับปัญหาเอชไอวี/เอดส์ในชุมชน

    อะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนเหล่านี้ตอบสนองต่อเรื่องเอชไอวี/เอดส์ในทางสร้างสรรค์ คำตอบอาจจะอยู่ที่ทัศนคติของคนเหล่านั้นที่มีต่อประเด็นเอชไอวี/เอดส์ โอกาสในการรับรู้ข่าวสารที่ถูกต้องและรอบด้านทำให้คนนั้นมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักว่าบทบาทของตนเองในฐานะผู้นำศาสนาและผุ้นำชุมชนสามารถส่งผลกระทบในทางบวกต่อสังคม

ความคาดหวังของผู้นำศาสนาและผู้นำชุมชน
ในการดำเนินงานด้านเอชไอวี/เอดส์ในชุมชน
   

จริงๆแล้วผู้นำศาสนาและผู้นำชุมชนมีศักยภาพอย่างมากมายในการตอบสนองต่อการจัดการแก้ไขปัญหาเอชไอวี/เอดส์ในชุมชน
    ศักยภาพและบทบาทของผู้นำศาสนาในการเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในสังคม ความเคารพและนับถือที่ได้รับ สามารถให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องต่อคนในสังคมในโอกาสต่างๆเช่นการเทศน์ในวันพระ การคุตบะห์ในวันศุกร์ การยมัสการในวันอาทิตย์ ผู้นำศาสนาเป็นผู้ดูแลศาสนสถานซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชน สามารถรวบรวมทรัพยากรได้แก่ คนและสถานที่สำหรับให้ความรู้ ดึงดูดความร่วมมือและการตอบสนองของประชาชนในการจัดการกับปัญหาเอชไอวี/เอดส์ ของชุมชนโดยใช้ศาสนธรรมเชื่อมโยงกับการทำงานของคนในชุมชน ทำให้ชุมชนเห็นว่าศาสนาเป็นทางออกของทุกปัญหา
    ศักยภาพของผู้นำในชุมชนในฐานะผู้ปกครองหรือผู้รับใช้ปวงชน ได้รับความนิยม ความเคารพนับถือเชื่อฟังตามบทบาทหน้าที่ตำแหน่งในชุมชนสามารถให้ความารู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และระดมทรัพยากรงบประมาณ หรือกำหนดนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการปัญหาเอชไอวี/เอดส์ของคนในสังคม โดยเชื่อมโยงการทำงานกับทุกภาคส่วน

เรียบเรียงและเผยแพร่

 

โดย

อาจารย์ สมเดช พรนิมิตสกุล

พันธกิจเอดส์ชาติพันธุ์ฯ

(หน่วยงานพัฒนาและบริการสังคม)

07-09-2021


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิยามของคำว่าชาติพันธุ์

ทำไมสวรรค์ไม่ใช่บ้านของเรา