บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2011

ครั้งหนึ่งในชีวิต

รูปภาพ
เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2011 ที่ผ่านมาทางโครงการพันธกิจเอดส์ฯได้มีการทัศนศึกษาสำหรับกลุ่มด้อยโอกาสทางสังคมซึ่งอยู่ห่างไกลจากเมืองเชียงใหม่ และมีควาามต้องการที่จะไปศึกษาดูงานที่สวนสัตว์เชียงใหม่ แล้วก็ได้ไปดูในที่สุดซึ่งเรื่องของเรื่องมีอยู่ว่ากลุ่มคนเหล่านี้โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นคนด้อยโอกาสทางสังคมจริงๆ ไม่เคยมีโอกาสได้ออกนอกพื้นที่เลยเนื่องจากเขาเหล่านั้นไม่มีบัตรประจำตัวใดๆเลย สามารถอยู่ได้เฉพาะในพื้นที่ที่จำกัดเท่านั้นแต่ท้ายที่สุดความฝันของเขาก็กลายเป็นจริงเมื่องทางโครงการพันธกิจเอดส์ฯได้เปิดโอกาสให้ได้มาเที่ยวในครั้งนี้ แต่ก็เจอปัญหาหลายๆอย่างเช่นการถูกจับที่ด่านแก่นป่าเต๊า บางคนไม่ได้มีเงินติดตัวมาสักบาทแต่ทุกอย่างก็เปิดโอกาสให้เนื่องจากในที่สุดแล้วด่านก็ให้ผ่านไปได้โดยไม่ต้องมีการค้ำประกันใดๆแต่ต้องยกเครดิตให้กับอาสาสมัครที่ได้นำพาเขาเหล่านั้นมา ที่จริงแล้วทางเจ้าหน้าที่ก็ไม่ยอมที่จะให้ผ่านด่านแต่จะให้เสียค่าปรับแล้วกลับบ้าน แต่สรุปได้ว่าสามารถผ่านมาได้ขอบคุณพระเจ้าจริงๆที่ได้ดลบันดาลให้ทางเจ้าหน้าที่ได้ปล่อยให้ออกมาทัศนศึกษาได้ในครั้งนี้ ซึ่งทำให้เค้าทั้งหลายสมหวังดังปรารถนา ซึ่งหลาย

ผู้อภิบาลคือใคร?

รูปภาพ
ผู้อภิบาลคือใคร?      บทนำ ในปี ค.ศ. 1944 ชาวยิวที่อาศัยในเมือง Sighet ประเทศฮังการีถูกกวาดต้อนให้ไปอยู่ในค่ายกักกัน Elie Wiesel นักประพันธ์ชื่อดังคนหนึ่งก็เป็นคนหนึ่งที่ถูกกวาดต้อนไปด้วย ตัวเขารอดพ้นจากการเผาทำลายคนและเมืองนี้ หลังจากนั้นอีก 20 ปีเขาได้กลับมามาดูเมืองที่เขาเคยอาศัยอีกครั้งหนึ่ง สิ่งที่ทำให้เขาเจ็บปวดมากที่สุดในชีวิตคือ ไม่หลงเหลือความทรงจำเกี่ยวกับชาวยิวในความทรงจำของคนที่อาศัยอยู่ในเมือง Sighet เลย Elie Wiesel ได้เขียนไว้ว่า ผมไม่โกรธประชาชนที่อยู่ในเมือง Sighet ... ที่ได้ขจัดเพื่อนบ้านในอดีตออกจากพื้นที่แห่งความทรงจำของเขา หรือ ที่ได้ปฏิเสธการเคยมีอยู่ของพวกยิวในเมืองนั้น ถ้าผมจะโกรธก็เพราะว่า ที่เขาได้ลืม พวกยิวอย่างรวดเร็วสิ้นเชิงอะไรเช่นนั้น ... พวกยิวมิเพียงแต่ถูดกวาดต้อนขับไล่ออกจากเมืองนี้เท่านั้น แต่ถูกลบล้างออกจากกาลเวลาชีวิตของชาว Sighet ด้วย เรื่องราวข้างต้นนี้ได้โยงชี้ให้เราเห็นว่า การที่เราลืมความบาปผิดที่เรากระทำลงไปนั้น เป็นความบาปที่ยิ่งใหญ่กว่าการที่เราได้กระทำบาปนั้น ทำไมถึงกล่าวเช่นนั้น? ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่า สิ่งที่เราลืม

การนมัสการพระเจ้าเช้าวันอาทิตย์

รูปภาพ
ผมมีโอกาสตีวงสนทนากันกับศิษยาภิบาล ผู้ปกครอง มัคนายก และสมาชิกคริสตจักรรวมกันประมาณ 10 คนโดยไม่ได้ตั้งใจ หลังจากการพูดคุยกันสักพักหนึ่ง หัวข้อที่สนใจพูดคุยกันกลับเป็นเรื่องการนมัสการพระเจ้าในเช้าวันอาทิตย์ และนี่คือคำถามและความคิดเห็น และ สรุปข้อสังเกตจากการสนทนาในวันนั้น 1. การนมัสการพระเจ้าของเราในแต่ละสัปดาห์มีประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผลหรือไม่ อย่างไร? แท้จริงแล้วการนมัสการพระเจ้าของพวกเรานั้นประสบกับความล้มเหลวและบรรลุผลสำเร็จ เราไม่เคยมุ่งมั่นตั้งใจและทุ่มเทอย่างเต็มกำลังที่จะให้การนมัสการพระเจ้าในเช้าวันอาทิตย์ทำให้คริสตจักรของเราเจริญเติบโต ดังนั้น เราจึงไม่ต้องล้มเหลวในประการนี้เพราะเราไม่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ ที่เราประสบความล้มเหลวเพราะ เราได้สูญเสียผู้ที่รับเชื่อในคริสตจักรของเราเหมือนถุงก้นรั่ว ที่ผิดพลาดเพราะคริสตจักรมัวแต่ให้ความสนใจกับการบริหารจัดการพันธกิจคริสตจักรแบบการตลาด(ที่เน้นจำนวนคนที่มานมัสการพระเจ้า แต่ไม่เอาใจใส่คุณภาพชีวิตคริสเตียนของสมาชิก) 2. คุณคิดว่า “ผู้เชื่อ”ในยุคทันสมัยนี้ เข้ามาร่วมนมัสการพระเจ้าเพื่อที่จะให้ หรือ เพื่อที่จะได้รับ?

การรับใช้กับการอธิษฐาน

รูปภาพ
อะไร ที่ไหน ที่เป็นแหล่งพลังจิตวิญญาณสำหรับคนทำงานของพระเจ้า? อะไร อย่างไร ที่จะช่วยปกป้องพวกเขาจากการที่ต้อง “มึนทืมทึบ” “อึ้ง ไม่พูดไม่จา” “การแสดงสัมพันธภาพที่เย็นชา หรือทำเป็นธรรมเนียม (แบบขอไปที)” “คนที่มีโครงการ แผนงานมากมาย” “คนที่มีนัดหมายเต็มไปหมด” แต่ที่สำคัญคือไม่รู้ว่าเขาไปทำ “จิตใจ” ของตนตกหล่นไว้ที่ไหนท่ามกลางกิจการงานของเขา? อะไรที่ช่วยให้คนทำงานของพระเจ้าเป็นคนที่... “กระปี้กระเปร่า” “มีชีวิตชีวา” “เปี่ยมไปด้วยพลัง” “เต็มไปด้วยความกระตือรือร้น” อะไรที่ช่วยให้คนทำงานของพระเจ้าเป็นคนที่... “เทศนาและสั่งสอน” “ให้การปรึกษา” “มีชีวิตประจำวันที่ด้วยชีวิต...” ที่ตื่นตาตื่นใจ ที่ชื่นชมยินดี ที่ซาบซึ้งและขอบคุณ ที่สรรเสริญ ยกย่องพระเจ้า คำถามเหล่านี้ต้องการชวนเชิญให้ค้นหาเจาะลึกถึงความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตของแต่ละคน กับ กิจการงานที่เราเชื่อว่าเป็นสิ่งที่พระเจ้าทรงเรียกให้กระทำในชีวิตของแต่ละคน ซึ่งเราเชื่ออีกกว่า การกระทำกิจการงานในแต่ละวันคือการทำงานรับใช้พระประสงค์ของพระเจ้า หรือ เป็นชีวิตที่ทำงานรับใช้ข่าวดีของพระเยซูคริสต์ ขอเชิญชวนให้เราช่วยกันค้นหาเจา

ฝ่าวิกฤติชีวิตที่ไม่เคยผ่านพบ

รูปภาพ
“เพราะท่านไม่เคยเดินผ่านทางนี้มาก่อน ฉะนั้นเขา(หีบพันธสัญญาของพระเจ้า”)จะนำท่านไป...” (โยชูวา 3:4 อมตธรรม) คนเรากลัวในหลายเรื่องด้วยกัน แต่ความกลัวอย่างหนึ่งที่มีมาในทุกยุคทุกสมัยคือ กลัวสิ่งที่เราไม่รู้จัก สิ่งที่ไม่เคยเผชิญมาก่อน ไม่รู้แน่ว่าจะเป็นอย่างไร เช่น กลัวว่าอนาคตของเราจะเป็นอย่างไร? กลัวสุขภาพของเราจะแข็งแรงหรืออ่อนแอ? กลัวเกี่ยวกับสวัสดิภาพ ความปลอดภัยในชีวิตของลูกหลาน อนาคตของลูกหลาน ลูกหลานยังจะติดตามพระเจ้า หรือ จะติดตามเพื่อน? กลัวว่าชีวิตของเราต้องเผชิญกับสถานการณ์เลวร้ายที่เราไม่คาดคิด ทั้งภัยธรรมชาติ ภัยทางสงคราม การเมือง และเศรษฐกิจ ความกลัวลักษณะที่กล่าวข้างบนนี้มีสาเหตุของความกลัวจากประการใหญ่ๆ 2 ประการคือ • อนาคตเป็นเรื่องที่ยังมาไม่ถึง ดังนั้น เราจึงไม่รู้ว่ามันจะเป็นอย่างไร คิดตัดสินใจไม่ได้ • อนาคตเป็นสิ่งที่นอกเหนือความสามารถในการควบคุมของเรา เป็นความจริงว่า อนาคตเป็นเรื่องที่อยู่เหนือความสามารถที่เราแต่ละคนจะควบคุมมันได้ อนาคตมิได้อยู่ในกำมือของเราก็จริง แต่เราสามารถที่จะเชื่อไว้วางใจในความสัตย์ซื่อของพระเจ้าได้ เพราะพระองค์

สองผู้ยิ่งใหญ่

รูปภาพ
แจ็คเป็นเพื่อนของจอห์น จอห์นเติบโตในครอบครัวที่มีชีวิตติดสนิทกับพระเจ้า แต่แจ็คมิได้รับการบ่มเพาะเอาใจใส่ความเชื่อศรัทธาที่ติดสนิทสนมกับพระเจ้า ดังนั้น สิ่งที่ทั้งสองคิดและเชื่อแตกต่างกันคือ การทรงพระชนม์อยู่ของพระเจ้าแห่งความรักเมตตา อย่างไรก็ตาม ด้วยความรักเพื่อนจอห์นจึงอธิษฐานเพื่อแจ็คเพื่อนรักของเขาเสมอ และทั้งสองคนมักจะพูดถึงเรื่องศาสนาและความเชื่อ วันหนึ่งแจ็คได้เข้าถึงความสว่าง และยอมตนเข้ารับเชื่อศรัทธาในองค์พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งแจ็คเสียใจอยู่นิดๆที่จอห์นไม่ได้เชื่อในศาสนจักรคาทอลิกอย่างตน แต่กลับเชื่อศรัทธาในคริสตจักรแห่งอังกฤษ (Church of England) เพื่อนสนิทของแจ็คก็คือ จอห์น โรนัลด์ รูเอล โทลคี (J.R.R. Tokien) เป็นกวี นักประพันธ์ นักภาษาศาสตร์ และศาสตราจารย์ชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงในฐานะผู้ประพันธ์นิยายแฟนตาซีระดับคลาสสิค เรื่อง “เดอะฮอบบิท”( “The Hobbit”) และ “เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์” (The Lord of the Rings) ส่วนแจ็ค ก็คือ ซี.เอส. ลิวอิส (C.S. Lewis) มีชื่อเต็มว่า ไคลว์ สเตเปิลส์ ลิว-อิส (Clive Staples Lewis) ที่พวกเรารู้จักเขาอย่างดีในฐานะผู้เขียนชุดนาร์เน

อำนาจแห่งคำพูด

รูปภาพ
อำนาจแห่งคำพูด 10ใครจะพบภรรยาที่ดี (ใครจะพบภรรยาที่ดีเลิศ) เธอประเสริฐยิ่งกว่าทับทิมมากนัก (นางล้ำค่ายิ่งกว่าทับทิมมากนัก) (สุภาษิต 31:10, TBS; อมตธรรม) วันนี้ ผมขอให้เราใช้จินตนาการในการใคร่ครวญของเรา ขอท่านลองจินตนาการว่าคู่ชีวิตของท่านนั่งอยู่อย่างเงียบๆ แล้วเขา/เธอกำลังครุ่นคิดอยู่ว่าเป็นพระพรมากแค่ไหนที่ได้คุณเป็นคู่ชีวิตของเขา ในมือของเขาถือรูปของคุณ แล้วก็มีอะไรที่ชื้นเปียกที่ดวงตาของเขา/เธอ เขา/เธอกำลังประทับใจและหลงในเสน่ห์แห่งคู่ชีวิตของเขา/เธอ ความคิดของเขา/เธอรำพึงครุ่นคิดไปดังนี้.... ความดีมีค่าในโลกนี้ทั้งสิ้นไม่สามารถเปรียบได้กับคู่ชีวิตของฉัน อะไรที่ทำให้ฉันสมควรที่จะได้รับสิ่งล้ำค่าเหล่านี้จากเธอ/เขาหรือ? พระเจ้าทรงประทานของขวัญอันล้ำค่านี้แก่ฉัน ในชีวิตสมรส เธอ/เขาได้ดึงเอาสิ่งดีดีมีค่าออกมาจากตัวฉัน และมุ่งมองสนใจในสิ่งดีเลิศที่มีอยู่ในตัวฉัน ผู้คนในสำนักงานต่างอิจฉาในความสัมพันธ์ของเรา... สิ่งหนึ่งคือคำพูดคำทักของเธอ/เขา เพื่อนบางคนในสำนักงานนำคำพูดของเขา/เธอไปเปรียบกับคำพูดคู่ชีวิตของเขา... เมื่อฉันมองย้อนทบทวนถึงความสำเร็จในชีวิตของฉัน เขา/เธอมีส่วนที่ยิ่งใหญ่ใน